15673 จำนวนผู้เข้าชม |
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Brown Planthopper)
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงปากดูด ตัวเต็มวัยมีขนาดยาวประมาณ 3 มม. กว้าง 1 มม.ลำตัวมีสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาล ปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (brachyterous form) ตัวเมียมีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียชนิดปีกยาวสามารถวางไข่ได้ 100 ฟอง ตัวเมียปีกชนิดสั้นสามารถวางไข่ได้ 300 ฟอง ในช่วงชีวิต 2 สัปดาห์ ของการเป็นตัวเต็ม โดยวางไข่เป็นกลุ่มเรียงแถวที่เส้นกลางใบหรือกาบใบ กลุ่มละประมาณ 8-10 ฟอง ซึ่งมองเห็นเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลตรงบริเวณที่วางไข่ ดังกล่าวนั้น ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 7 - 9 วัน ตัวอ่อนลอกคราบ 5 ครั้ง ภายในระยะเวลา 13 - 17 วัน เพื่อเป็นตัวเต็มวัย ตัวเมียมีตัวเมียมีอายุเฉลี่ย 15 วัน ส่วนตัวผู้มีอายุเฉลี่ยประมาณ 13 วัน ตัวเต็มวัยชนิดปีกสั้นบินไม่ได้จะอาศัยอยู่ในแปลงดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าวและขยายพันธุ์ ส่วนพวกปีกยาวสามารถบินอพยพออกจากแปลงนาได้
ลักษณะการเข้าทำลาย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายต้นข้าวในทุกระยะของการเจริญเติบโต เช่นระยะกล้า ระยะแตกกอ ระยะออกรวงตั้งแต่ตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัยสามารถทำลายต้นข้าวได้อย่างรุนแรง โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองเหี่ยวแล้ว แห้งเป็นสีน้ำตาลแก่คล้ายน้ำร้อนลวกที่เรียกว่าhopper burn ต้นกล้า และต้นข้าวที่กำลังแตกกอที่ถูกทำลายจะแห้งตาย ต้นข้าวที่ออกรวงแล้วจะมีเมล็ดไม่สมบูรณ์และมีน้ำหนักเบา ล้มง่ายประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลพบมากในพันธุ์ข้าวที่ต้นเตี้ยและแตกกอมาก เนื่องจากมีจำนวนต้นข้าวให้แมลงดูดกินมาก และจะระบาดรุนแรงในระหว่างเดือนที่มีอากาศร้อ ความชื้นสูงเช่นเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม นอกจาการทำลายข้าวโดยตรงแล้ว แมลงชนิดนี้ยังเป็นพาหะนำโรคใบหงิก (ragged stunt) และโรคเขียวเตี้ย (grassy stunt) มาสู่ต้นข้าว เป็นสาเหตุทำให้ผลผลิตข้าวลดลงอย่างมาก
แนวทางการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
1. ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทาน เช่น กข 6 กข 31 กข 41 กข 47 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 3 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 2 และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูง กับพันธู์ต้านทานสูง กับพันธุ์ทนทานหรือพันธุ์อ่อนแอปานกลางโดยพิจารณาอายุเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกันเพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง
2. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำองค์ประกอบต่างๆ ของระบบนิเวศในแปลงนานำมาวิเคราะห์ ตัดสินใจด้วยตนเองในการจัดการแปลงจากสถานการณ์จริง
3. ในแหล่งที่มีการระบาดและควบคุมระดับน้ำในนาได้หลังปักดำหรือหว่าน 2 - 3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้องควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียกหรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป จะช่วยลดการระบาดได้
4. ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย (เชื้อสด) อัตรา 1 กก. (2 ถุง)ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในบริเวณที่พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและควรฉีดพ่นในเวลาเย็น
สารเคมีที่แนะนำให้ใช้ในการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล