โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้ม ป้องกันยังไง ?

3970 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้ม ป้องกันยังไง ?

โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้ม 

   โรคแคงเกอร์มะนาว หรือ โรคขี้กลากในส้ม (อังกฤษ: citrus canker) เป็นโรคที่มีผลต่อพืชหลายชนิดในสกุลส้ม ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis ทำให้เกิดแผลบนใบ ลำต้น และผลของต้นส้ม มะนาว มะกรูด และส้มโอ ซึ่งคล้ายกับอาการของโรคแคงเกอร์ชนิดอื่นคือ เป็นหย่อมแผลตกสะเก็ดนูนของเนื้อเยื่อที่ตายเป็นสีน้ำตาลแก่ แม้ว่าโรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้มจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความอยู่รอดของต้นพืชในสกุลส้ม ทำให้ใบและผลร่วงก่อนเวลาอันควร ผลที่เป็นโรคแคงเกอร์นั้นกินได้อย่างปลอดภัย แม้ดูไม่น่ากิน

   เชื่อกันว่าเชื้อแบคทีเรียของโรคนี้มีต้นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื้อนี้มีความทนทาน (ความสามารถในการอยู่รอด) สูงมากในพื้นที่ระบาด ความพยายามในการกำจัดโรคนี้อาจต้องใช้การรื้อทำลายทิ้งทั้งสวน ปัจจุบันพบการระบาดของโรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้มในหลายทวีปตั้งแต่ไทย อินโดนีเซีย จีน อินเดีย รวมทั้งบราซิล อาร์เจนตินา อุรุกวัยและสหรัฐ เป็นเชื้อที่ส่าคัญมากชนิดหนึ่งของการกักกันพืชในประเทศสหรัฐ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ซึ่งมีการตรวจสอบการนำเข้าผลส้มหรือกิ่งพันธุ์ส้มอย่างเข้มงวด

การแพร่กระจายและการควบคุมการระบาด                                         

โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้มสามารถแพร่กระจายได้ตามกระแสลม น้ำค้าง ฝน จากแมลง และมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเคลื่อนย้ายกิ่งที่มีโรคโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์โดยอุปกรณ์ที่ปนเปื้อน และโดยการขนส่งพืชที่ติดเชื้อหรือพืชที่ดูเหมือนมีสุขภาพดีจากแหล่งหนึ่งไปยังสถานที่อื่น ๆ เป็นระยะทางไกลได้ เนื่องจากเวลาแฝงของโรค พืชอาจดูเหมือนแข็งแรง แต่แท้จริงแล้วติดเชื้อได้ ในประเทศไทยช่วงการระบาดมักเป็นช่วงฤดูฝน ในเดือนพฤษภาคม–กันยายน ไม่มีการรักษาทางเคมีที่มีประสิทธิภาพสำหรับต้นไม้ที่ติดเชื้อโรคแคงเกอร์ อย่างไรก็ตามการตัดกิ่ง ใบ หรือผลที่ติดเชื้อออก โดยตัดให้ต่ำกว่าแผลเปื่อย 1 นิ้ว หลังจากการตัดแต่ละครั้ง ให้ฆ่าเชื้อเครื่องมือตัดแต่งกิ่งโดยการแช่น้ำยาฟอกขาว (คลอรีน) หนึ่งส่วนต่อน้ำ 9 ส่วน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายการติดเชื้อไปยังส่วนที่แข็งแรงของต้นไม้ การตัดแต่งกิ่งกิ่งที่ติดเชื้ออาจยืดอายุต้นไม้ได้ แต่ไม่อาจหยุดการติดเชื้อได้ และอาจเป็นการเพิ่มความเครียดให้ต้นไม้นั้น การกำจัดต้นพืชที่มีอาการรุนแรงทิ้ง เช่น ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ยืนต้นตาย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อไปยังต้นไม้ที่แข็งแรงรอบข้าง ต้นไม้ที่ไม่ได้รับความเครียดจากความแห้งแล้ง แมลงศัตรูพืช หรือการขาดสารอาหารมักจะมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่า

วิธีป้องกันกำจัดแคงเกอร์


  1. ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์
    2. พ่นสารป้องกันกำจัด ดูค่อน โดยใช้อัตรา 40-50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพบการระบาดของโรค หรือพ่นในช่วงแตกใบอ่อน และพ่นซ้ำทุก 7 วัน ร่วมกับการกำจัดหนอนชอนใบ ซึ่งเป็นสาเหตุการเข้าทำลายของเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุของโรคแคงเกอร์

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1


ดูค่อน 1000cc. 550ไซแอมคู-มิกซ์ คอปเปอร์(สูตรเย็น) ขนาด 1 กก. 550คาร์เบนดาซิม 50% SC (ขนาด 1 ลิตร) 230เมทาแลกซิล 25% สีชมพู 1กิโลกรัม 280ไทแบค สาร ซิงค์ไทอะโซล 500 ซีซี 370 

 


 

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้