4934 จำนวนผู้เข้าชม |
โรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียนนับเป็นปัญหาที่สำคัญมากต่อการปลูกทุเรียนซึ่งมีสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora Butler (1919) จึงได้ทำการศึกษาหาวิธีป้องกันกำจัด
โดยชีววิธี เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันกำจัดโรค
ดำเนินการทดลองตั้งแต่มกราคม 2553 ถึง กันยายน 2558
ที่กลุ่มวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ และแปลงเกษตรกร อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
โดยทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อและผลิตภัณฑ์ผงเชื้อ Bacillus subtilis 5102
เพื่อใช้ในการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน
พบว่า สารกรองจากเชื้อแบคทีเรีย B.subtilis 5102 ที่เลี้ยงในอาหารเหลวมันฝรั่งน้ำตาลสามารถ
ยับยั้งเชื้อรา P. palmivora ได้เป็นเวลานานถึง 30 วัน ผลิตภัณฑ์จากเชื้อ B. subtilis 5102
สามารถรักษาโรครากเน่าโคนเน่าของทุุุเรียนได้โดยต้นที่ได้รับการรักษาด้วยการลอกเปลือกบริเวณที่เป็นโรคและ
ทาด้วยผลิตภัณฑ์ผงเชื้อ B.subtilis 5102 จ านวน 4 ครั้ง จะเริ่มหายเป็นปกติโดยเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นแผลสีน้ำตาล
ที่เป็นบริเวณกว้างจะเปลี่ยนเป็นแผลจุดเล็กสีน้ำตาลกระจายตัวไม่รวมตัวกันโดยเนื้อเยื่อบางส่วน
เริ่มกลับเป็นเนื้อเยื่อปกติมีสีขาว ต้นทุเรียนมีลักษณะสมบูรณ์ฟื้นตัวใบตั้งมีสีเขียวสดใส
ต้นที่ใช้ผลิตภัณฑ์ผงเชื้อ B. subtilis 5102 มีระดับคะแนนการเป็นโรคต่ำกว่าการใช้สารเคมีเมทาแลกซิล
การใส่ผลิตภัณฑ์ผงเชื้อ B. subtilis 5102 สามารถลดปริมาณสปอร์แรนเจียมในดินของเชื้อรา P. palmivora
สาเหตุ โรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ส่วนการปลูกเชื้อในเรือนทดลองโดยใช้วิธี
ทาแผลบนต้นยังไม่ใช่วิธีการที่ดีที่ใช้ในการทดสอบเนื่องจากปัจจัยที่ทำให้ต้นทุเรียนตายอย่างรวดเร็ว
มิได้เกิดจากเชื้อรา P. palmivora เพียงอย่างเดียวแต่อาจเกิดจากการปิดกั้นทางเดินท่อน้ำท่ออาหาร
ของผลิตภัณฑ์ในแต่ละกรรมวิธี ยกเว้นการใช้น้ำหมักของเชื้อ B. subtilis 5102 ในกากน้ำตาล
สนับสนุนให้ต้นทุเรียนรอดตาย 100 เปอร์เซ็นต์