7772 จำนวนผู้เข้าชม |
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนตกและลมแรงในบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในระยะ ระยะออกดอกถึงระยะติดฝัก รับมือหนอนเจาะฝักข้าวโพด แม่ผีเสื้อวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามเส้นไหมที่ปลายฝักข้าวโพด หรือที่ช่อดอกตัวผู้ หนอนกัดกินที่ช่อดอก และเมื่อเริ่มติดฝัก ตัวหนอนจะกัดกินเส้นไหมของฝัก และเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในบริเวณปลายฝัก ทำความเสียหายให้แก่คุณภาพฝักโดยตรง
เนื่องจากปลายฝักเสียหาย และถ้าพบระบาดมากปลายฝักจะเน่า เนื่องจากความชื้นจากมูลของหนอนที่ถ่ายไว้ หนอนเจาะฝักข้าวโพดทำความเสียหายได้มากเมื่อเกิดการระบาดก่อนที่ขบวนการผสมเกสรจะเกิดขึ้น หากการระบาดรุนแรงจะเก็บผลผลิตไม่ได้ เนื่องจากหนอนกัดกินเส้นไหมจนแหว่งหมดไป ทำให้ข้าวโพดไม่ได้รับการผสมพันธุ์ ฝักที่ได้จึงไม่ติดเมล็ด หรือเกิดเป็นข้าวโพดฟันหลอขึ้น
ลักษณะการทำลาย
ทำความเสียหายโดยการเจาะเข้าไปกินอยู่ภายในลำต้นข้าวโพด ทำให้ต้นข้าวโพดหักล้มง่ายเมื่อถูกลมพัดแรง นอกจากนั้นยังเจาะทำลายฝักด้วย ซึ่งมักเจาะกินที่ก้านฝักหรือโคนฝัก หากระบาดรุนแรงมากจะเจาะกินที่ฝักด้วย สามารถเข้าทำลายในช่วงการเจริญเติบโตของลำต้น ระยะติดดอกและติดเมล็ด โดยที่หนอนจะเจาะกินใบส่วนยอด เจาะกินภายในช่อดอก และเจาะเข้าทำลายภายในลำต้น หนอนที่ฟักออกจากไข่ระยะแรกๆ จะกัดกินใบที่ม้วนอยู่ แต่ถ้าระบาดระยะที่ข้าวโพดกำลังออกเกสรตัวผู้จะอาศัยกินอยู่ที่ช่อดอกตัวผู้ ซึ่งอาจจะทำให้ช่อดอกไม่คลี่ได้ ต่อมาจึงเจาะเข้าลำต้นด้านบริเวณก้านใบเหนือข้อและโคนฝักการทำลายของหนอนเจาะลำต้นนี้จะกัดกินเป็นรูย้อนขึ้นทางด้านบนแต่ถ้าในแหล่งที่มีการระบาดมากจะเจาะกินฝักด้วย ในสภาพที่มีการเจาะทำลายโดยเฉลี่ย 3 - 6 รูต่อต้น จะทำให้ผลผลิตลดลงร้อยละ10 - 40 นอกจากนี้ พบว่าการปลูกข้าวโพดในช่วงปลายฤดูฝนจะมีการระบาดของแมลงศัตรูดังกล่าวมากกว่าในช่วงต้นฤดู
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. วิธีกล ข้าวโพดที่ปลูกในพื้นที่ขนาดเล็ก ใช้วิธีการจับหนอนที่ปลายฝักทิ้ง หรือใช้มือบีบปลายฝักให้หนอนตายโดยไม่ต้องเก็บทิ้ง และควรเดินเก็บหนอนทุกวันในระยะติดฝัก
2. เนื่องจากผีเสื้อของหนอนเจาะฝักข้าวโพดจะวางไข่ที่ยอดเกสรตัวผู้ และที่ไหมข้าวโพดในระยะผสมเกสร จึงควรหมั่นตรวจปลายฝักข้าวโพดในระยะนี้ หากพบหนอนวัย 1-2 เฉลี่ย 10-20 ตัวต่อ 100 ต้น พ่นสารฆ่าแมลงฟลูเฟนนอกซูรอน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะฝักที่หนอนลงทำลายไหม พ่นซ้ำตามความจำเป็น โดยพ่นที่ปลายฝักบริเวณไหมโผล่ หากพบการระบาดมากจึงพ่นที่เกสรตัวผู้ส่วนบนสุด
**** สารฆ่าแมลงควรใช้ในระยะที่หนอนยังเล็กจะได้ผลดี สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมื่อฝักติดเมล็ดแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลง
ที่มา : เตือนภัยศัตรูพืช กรมวิชาการเกษตร
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ฟิโพรนิล 5% ขนาด 1 ลิตร 260 | อีมา-เอ็กซ์ 1000 g. 305 | อีมาเม็กติน เบนโซเอต 1000g. 299 | ไซแอมโซฟอส 1000g. 290 |