9386 จำนวนผู้เข้าชม |
การปลูกกระท้อน
กระท้อนเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 15–30 เมตร อายุขัยเฉลี่ยประมาณ 40–50 ปี เปลือกต้นสีเทา ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีแกมไข่จนถึงขอบขนาน ขนาดประมาณ กว้าง 6–15 ซม. ยาว 8–20 ซม. เมื่อใบแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงดอกออกเป็นช่อ ที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองนวล
ผล ผลอ่อนสีเขียวมีน้ำยางสีขาว เมื่อผลแก่เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีน้ำยางน้อยลง รูปกลมแป้น ผิวมีขนแบบกำมะหยี่อ่อนนุ่ม ขนาดประมาณ 5–15 เซนติเมตร ภายในผลจะมีเมล็ด 3–5 เมล็ด และมีปุยสีขาวหุ้มอยู่ ปุยที่รับประทานได้นี้พัฒนามาจากเปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งลักษณะ ของปุยและรสชาติจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพันธุ์ เมล็ดรูปรี มีปลอกเหนียวห่อหุ้ม
การป้องกันกำจัดโรค - แมลง
ไรแดง
ที่จะทำลายกระท้อนให้ได้ตั้งแต่ใบอ่อนจนถึงใบแก่ ทำให้ใบหงิกงอเป็นปุ่มปมด้านใต้ใบจะขอร้องให้กำมะหยี่ เมื่อมีสิ่งที่เหลือให้ไรแดงนำไปใช้ในการปรับขนาดใบที่ไม่ต้องเผาทำลายทิ้ง และฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดไรแดง เช่น กำมะถันผง ไดโคโฟล อามีทราส ไดโนบูตัน โดยฉีดพ่นหลังจากตัด แต่งกิ่งและเริ่มแตกใบอ่อน 2-3 ทุกๆ 4 วัน
หนอนผีเสื้อยักษ์
จะมีขนาดตัวใหญ่สีฟ้า จะเข้ากัดกินใบและยอดอ่อน ทำให้ต้นกระท้อนชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง ถ้ามีการระบาดควรจับตัวหนอนมาทำลายและฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เมทโธมีลประมาณ 1-2 ครั้ง เว้นระยะห่าง 15 วัน
หนอนร่านกินใบ
ตัวหนอนมีขนาดเล็กมีขนถ้าาถูกผิวหนังจะรู้สึกแสบและคัน ตัวหนอนเข้ากัดกินใบเสียหาย ถ้ามีระบาดมากจะพบว่าตัวหนอนจะรวมกันเป็นกระจุกกัดกินใบแหว่งเป็นวง กำจัดโดยตัดใบที่มีตัวหนอนอยู่ด้วยไปทำลายทิ้งและฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เพอร์เมททริน เมทโธมมีล ประมาณ 1-2 ครั้ง
หนอนเจาะขั้วผล
หนอนชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในรังที่ทำจากกลีบดอกกระท้อนแห้ง ๆ และเข้ากัดกินขั้วผลขณะที่ผลกระท้อนยังเล็กอยู่ ทำให้ผลแห้งและร่วงหล่น การป้องกันกำจัดหนอนชนิดนี้ โดยการตัดแต่งกิ่งให้มีทรงพุ่มโปร่ง เมื่อเริ่มติดผลขนาดเล็ก ควรมีพ่นละอองน้ำล้างช่อดอกจะช่วยลดการทำลายลงได้ ถ้าระบาดมากควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น โมโนโครโตฟอส ประมาณ 3-4 ครั้ง ทุก 7-10 วัน
หนอนเจาะขั้วผล
หนอนชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในรังที่ทำจากกลีบดอกกระท้อนแห้ง ๆ และเข้ากัดกินขั้วผลขณะที่ผลกระท้อนยังเล็กอยู่ ทำให้ผลแห้งและร่วงหล่น การป้องกันกำจัดหนอนชนิดนี้ โดยการตัดแต่งกิ่งให้มีทรงพุ่มโปร่ง เมื่อเริ่มติดผลขนาดเล็ก ควรมีพ่นละอองน้ำล้างช่อดอกจะช่วยลดการทำลายลงได้ ถ้าระบาดมากควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น โมโนโครโตฟอส ประมาณ 3-4 ครั้ง ทุก 7-10 วัน
เพลี้ยไฟ
จะเข้าทำลายกระท้อนตั้งแต่ระยะยอดอ่อน ระยะช่อดอกจนถึงติดผลขนาดเล็กทำให้ดอกแห้งร่วง ผลจะมีผิวลายและจะติดไปจนผลแก่ หากพบว่ามีเพลี้ยไฟระบาาดควรรีบทำการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์โบซัลแฟน ฟอร์มีทาเนท ในช่วงเริ่มออกช่อดอกและก่อนดอกบาน แต่งดการฉีดพ่นช่วงดอกบานหลังจาก ติดผลแล้วจึงฉีดพ่นใหม่ประมาณ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
แมลงวันผลไม้
จะเข้าวางไข่บนผลที่ผิวเปลือกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีกระดังงาเป็นต้นไป ตัวหนอนจะชอนไช เข้าไปกัดกินเนื้อ ทำให้ผลเน่าและร่วงหล่น การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การห่อผลในระยะที่ผลกระท้อนเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีขี้ม้า (ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีกระดังงา) ก็จะป้องกันได้
หนอนชนิดนี้จะพบว่า ระบาดในสวนกระท้อนที่ไม่มีการดูแลรักษา เช่น ไม่มีการตัดแต่งกิ่งตัวหนอนจะเจาะเข้าไปในกิ่งหรือลำต้นเข้าทำลายท่อน้ำ ท่ออาหารทำให้กิ่งแห้งตาย การป้องกันกำจัดโดยดูแลตัดแต่งกิ่งให้มีทรงพุ่มโปร่ง ถ้าพบว่ามีตัวหนอนเจาะเข้าไปในกิ่งหรือลำต้น โดยจะสังเกตจากมีขุยอยู่ตรงรูที่หนอนเจาะเข้าไป ให้ใช้เข็มฉีดยา ใส่สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น ไดโครวอสฉีดเข้าไปในรูปที่หนอนเจาะ แล้วใช้ดินหรือดินน้ำมันปิดรูไว้
โรคใบจุด
เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง เมื่อมีการระบาดจะทำให้เกิดเป็นจุดขนาดเล็ก ๆ บนใบ ขอบแผลมีสีเข้มตรงกลางมีสีเหลืองจุดเล็ก ๆ จะขยายไปจนทั่วใบตามความยาวของใบ เมื่อพบว่ามีโรคดังกล่าวระบาดมากควรทำการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น บิโนมีล คาร์เบนดาซิม ทุก 10-15 วัน
ที่มา : https://m.baanjomyut.com/library_5/agricultural_knowledge/perennial_crops/53_7.html
ไตรอะโซฟอส40 1000cc 450 | เซฟวิน85 1กก. 540 | คาร์เบนดาซิม50% 1ลิตร 230 | ไรมิส20% อะมิทราซ 1ลิตร420 | เดสติก้า+เจฮาโลทริน580 |