โรคของหอมและกระเทียม

2203 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคของหอมและกระเทียม

  กระเทียมเริ่มมีใบแก่เหลืองเหี่ยวแห้งไป กาบหัวช้ำเริ่มมีเส้นใยสีขาวขึ้นฟูอยู่บนแผลและตาม รากเน่าเป็นสีน้ำตาลจะทำให้หัวนิ่มเน่าและเนื้อเยื่อยุ่ยมีกลิ่นเหม็น

  โรคหอมเลื้อยเป็นโรคที่สำคัญมากโรคหนึ่ง ระบาดทำความเสียหายในฤดูฝน เกิดโรครุนแรงกับหอมหัวใหญ่เกิดโรคปานกลางกับหอมแดงและหอมแบ่งที่ปลูกเพื่อเก็บหัวทำพันธุ์ เป็นโรคเดียวกับโรคใบเน่าแอนแทรคโนส ชนิดที่เกิดจากเชื้อรา C. gloeosporioides โดยเชื้อราชนิดนี้ทำให้เกิดอาการ ใบเน่าและอาการเลื้อยไม่ลงหัวด้วย สำหรับกุยช่ายเป็นโรคใบเน่าแอนแทรคโนสแต่ไม่แสดงอาการเลื้อย ส่วนกระเทียมต้านทานต่อโรคนี้

ลักษณะอาการ
  ต้นหอมที่เป็นโรคแอนแทรคโนสหรือโรคหอมเลื้อย เป็นลักษณะอาการที่บ่งบอกถึงอาการเลื้อยไม่ลงหัวของหอมซึ่งจะต่างไปจากอาการโรคใบเน่าหรือโรคแอนแทรคโนสที่กล่าวแล้วคือ มีลักษณะแคระแกร็นไม่ลงหัว หัวลีบยาวบิดโค้งงอใบบิดเป็นเกลียว ส่วนคอมักยืดยาว มีระบบรากสั้นกว่าปกติทำให้รากขาดหลุดจากดินได้ง่าย จึงเกิดการเน่าก่อนถึงเวลาเก็บเกี่ยว หรือเน่าหลังเก็บเกี่ยวอย่างรวดเร็ว บนต้นพืชที่เป็นโรค มักพบแผลเป็นรูปรี เนื้อเยื่อของแผลยุบตัวต่ำกว่าระดับเดิมเล็กน้อย บนแผลจะพบหลุ่มสปอร์ของเชื้อราเป็นของเหลวข้นสีส้มอมชมพู ซึ่งเมื่อแห้งแล้วจะกลายเป็นตุ่มสีดำเล็ก ๆ เรียงซ้อนกันเป็นวงหลายชั้น ที่บริเวณใบ โคนกาบ ใบ คอ หรือส่วนหัว เกิดร่วมกับอาการแคระแกร็น เลื้อยไม่ลงหัวเสมอ

สาเหตุ
  เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeeosporioides

การแพร่ระบาด
  มีการแพร่ระบาดเช่นเดียวกับโรคใบเน่าแอนแทรคโนสระบาดรุนแรงในฤดูฝน จึงพบโรคนี้ระบาดในแปลงปลูกหอมหัวใหญ่ซึ่งปลูกในฤดูฝนที่ จ.กาญจนบุรี เป็นประจำทุกปี โรคหอมเลื้อยเป็นโรคที่สำคัญมากโรคหนึ่ง ระบาดทำความเสียหายในฤดูฝน เกิดโรครุนแรงกับหอมหัวใหญ่เกิดโรคปานกลางกับหอมแดงและหอมแบ่งที่ปลูกเพื่อเก็บหัวทำพันธุ์ เป็นโรคเดียวกับโรคใบเน่าแอนแทรคโนส ชนิดที่เกิดจากเชื้อรา C. gloeosporioides โดยเชื้อราชนิดนี้ทำให้เกิดอาการ ใบเน่าและอาการเลื้อยไม่ลงหัวด้วย สำหรับกุยช่ายเป็นโรคใบเน่าแอนแทรคโนสแต่ไม่แสดงอาการเลื้อย ส่วนกระเทียมต้านทานต่อโรคนี้

การป้องกันกำจัด
1. ให้ขุดหอมและดินที่เกิดโรครวบรวมไปเผาทำลายเสีย เพื่อป้องกันมิให้ระบาดแพร่ทั่วไป
2. ในการปลูกหอมหรือพืชอื่นๆในปีต่อไป ในที่ๆมีโรคนี้ระบาด ควรทำการปรับปรุงแก้ไขดินเสียใหม่ โดยใส่ปูนขาวประมาณ 100-200 กก./ไร่ ก็จะช่วยให้โรคนี้ชะงักไปได้ระยะหนึ่งหรือหายไป
3. ใช้ยาเทอราคลอ, เทอราโซล หรือเทอราคลอซุปเปอร์เอกซ์ราดโคนต้น
4. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 ปี

 โรคใบจุด

ลักษณะอาการ
  อาการเริ่มแรกใบเป็นแผลจุดกลมหรือรูปไร่ สีน้ำตาลขนาดเล็กมากประมาณ 0.5-1.0 มม. ต่อมาแผลขยายไปตามความยาวของใบ ลักษณะแคบยาว กว้าง 1-2 มม.อาจยาวถึง 5 มม. ตรงกลางแผลสีอ่อนลง ขอบสีน้ำตาลเข้มล้อมรอบด้วยวงสีเหลือง เมื่อมีความชื้นสปอร์จะงอกและ ตรวจพบสปอร์ของเชื้อราสาเหตุบนแผล ทำให้เกิดแผลสีเทาทั้งด้านบนและด้านล่างใบ บางครั้งตรงกลาง แผลเนื้อเยื่อของใบพืชจะหลุดออกไปเกิดเป็นรู อาการเริ่มแรกมักปรากฎบริเวณใกล้ๆ ปลายใบก่อน ทำให้ปลายใบแห้งเป็นสีน้ำตาล ต่อมาแผลจะลุกลามเข้ามาเรื่อย ๆ จนถึงโคนใบทำให้ใบแห้งตาย

สาเหตุ
  เกิดจากเชื้อรา Cercospora duddiae

การแพร่ระบาด
พบการระบาดเป็นครั้งคราว เกิดกับหอมหัวใหญ่ หอมแดง และกระเทียม ทำความเสียหายไม่รุนแรง โรคนี้บางปีสำรวจพบการระบาดบ้างในขณะที่บางปีไม่พบการระบาดเลย

 โรคใบจุดสีม่วง

ลักษณะอาการ
  ไม่ว่าจะเกิดที่ส่วนใด อาการเริ่มจากจุดขาวเล็กๆ แล้วขยายกว้างออกเกิดเป็นแผลกลมรี หรือยาวไปตามใบขนาดไม่แน่นอน เนื้อเยื่อยุบตัวลงและมีสีม่วงเกิดขึ้นกลางแผล ขอบแผลมีสีเข้มและอาจมีแถบสีเหลืองปนส้มล้อมรอบ ต่อมา 2-3 สัปดาห์ จะเกิดมีกลุ่มสปอร์(ส่วนขยายพันธุ์)สีดำเกิดขึ้นตามบริเวณแผล ใบที่ถูกทำลายมากมีแผลใหญ่หลายแผล ใบจะเหลืองแห้งหักพับและตายหลังจากอาการปรากฏได้ 3-4 สัปดาห์ ทำให้หอมไม่ลงตัว หรือถ้ากำลังลงหัว ก็จะไม่โตและเก็บไว้ได้ไม่นาน เพราะเชื้อที่ติดไปจากไร่จะทำให้หัวหอมเกิดอาการเน่าได้อีก โดยทำให้หัวเน่าและเกิดแผลสีเหลืองในตอนแรก ต่อมาก็เป็นสีแดงเหล้าองุ่นและกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ในเวลาต่อมา กาบหอมจะแห้งบางและหลุดออกมาคล้ายเนื้อเยื่อกระดาษ ซึ่งกาบใบที่ถูกทำลายนี้จะหลุดออกมาเพียงกาบใบด้านนอกหรือกาบใบที่สองเท่านั้น

สาเหตุ
  เกิดจากเชื้อรา Alternaria porri (Ell.) Cif

การแพร่ระบาด
สปอร์แพร่ระบาดไปตามลม น้ำฝน เครื่องมือ เมล็ด อยู่ข้ามฤดูใน หัวหอมที่เป็นโรค เศษซากพืชในดิน
 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้