หมวดหมู่ : ปุ๋ยเกล็ด ,  บรรจุ 20-25 กิโลกรัม , 
Share
CaNO3 Calcium Nitrate ปุ๋ยเกล็ด แคลเซียมไนเตรท (NPK 15.5-0-0+26.5CaO) บรรจุ 25 กิโลกรัม
ผลิตโดย JIAOCHENG KNLAN CHEMICAL CO., LTD. ประเทศจีน
กระตุ้นการแตกใบอ่อน บำรุงการเจริญเติบโตสร้างเปลือก ขยายผล
15-0-0 แคลเซี่ยมไนเตรท จีเกรด เป็นธาตุอาหารพืชที่ประกอบไปด้วย ไนโตรเจน (N) 15% แคลเซี่ยม (CaO) 26.5% ผลิตจากกรรมวิธีการผลิตแบบพิเศษ ให้มีความบริสุทธิ์สูงละลายน้ำได้ดีปราศจากเกลือและสารประกอบอื่น
เหมาะสำหรับ
1. ละลายน้ำเพื่อเป็นธาตุอาหารสำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics)
2. ละลายน้ำเพื่อฉีดพ่นพืชโดยตรง โดยพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารผ่านทางใบและสามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การให้อาหารพืชในระบบท่อน้ำหยด
ธาตุแคลเซียม เป็นธาตุที่ต้นพืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตในตัวพืช ช่วยส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนจากดินมาใช้เห้เป็นประโยชน์มากขึ้น ในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ดพืชจะมีความจำเป็นมาก เพราะธาตุแคลเซียมจะมีส่วนในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืช เพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ดต่อไป อาการของพืชที่ขาดแคลเซียมจะพบมากในบริเวณยอด และปลายราก ยอดอ่อนจะแห้งตายหรือมีจุดประขาวอยู่บนใบส่วนยอด ดูคล้ายอาการยอดด่าง และใบจะมีการการม้วนงอไปข้างหน้าและขาดเป็นริ้ว ๆ ซึ่งจะเกิดที่ใบอ่อนก่อน ถ้าเป็นที่ลำต้น จะแสดงอาการต้นอ่อน โตช้า ที่ผลและรากมะเขือเทศเป็นก้นจุด ส่วนถ้าเป็นที่ขึ้นฉ่าย เป็นโรคไส้ดำ
หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียมในพืช มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับโครงสร้างของผลไม้ ช่วยเสริมสร้างเซลล์และการแบ่งเซลล์ของพืช ซึ่งพืชต้องการอย่างต่อเนื่อง ช่วยในการสร้างเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ของพืช ช่วยให้เซลล์ติดต่อกัน และจะช่วยเชื่อมผนังเซลล์ให้เป็นรูปร่าง และขนาดให้เป็นไปตามลักษณะของพืชแต่ละชนิด ช่วยเพิ่มการติดผล ช่วยให้สีเนื้อและสีผิวของผลสดใส ช่วยลดการเกิดเนื้อของผลแข็งกระด้าง และเนื้อแฉะ ช่วยป้องกัน ผลร่วง ผลแตก มีบาทบาทที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการย่อยธาตุไนโตรเจน เป็นตัวช่วยลดการหายในของพืช เป็นตัวช่วยเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแคลเซียม ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่จะหดสั้นและเหี่ยว แม้ว่าใบเก่าจะมีธาตุแคลเซียมอยู่ เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายจากใบเก่าสู่ใบใหม่ ใบอ่อนที่ขาดธาตุแคลเซียมจะมีสีเขียวแต่ปลายใบจะเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและจะตายในที่สุด ถ้าขาดธาตุแคลเซียมที่บริเวณขั้วหรือข้อต่อของผลจะทำให้เกิดแก๊สเอธีลีน(Ethylene) เป็นเหตุให้ผลร่วง พืชหลายชนิดที่ขาดธาตุแคลเซียม เช่น มะเขือเทศ แตงโม พริก แตงกวา จะเกิดการเน่าที่ส่วนล่างผล, ในผักขึ้นฉ่ายจะแสดงอาการไส้ดำ, ในแครอดจะแสดงอาการฟ่ามที่หัว, ในแอปเปิลจะมีรสขม, ในมันฝรั่งจะแสดงอาการเป็นสีน้ำตาลบริเวณกลางหัว, ในพืชลงหัวต่าง ๆ เช่น ผักกาดหัว(หัวไชเท้า) หอม กระเทียม จะแสดงอาการไม่ลงหัว หรือลงหัวแต่หัวจะไม่สมบูรณ์ ในพืชไร่ ต้นจะแตกเป็นพุ่มแคระเหมือนพัด แสดงอาการที่ราก คือ รากจะสั้น โตหนามีสีน้ำตาล ดูดอาหารไม่ปกติ ในระยะพืชออกดอก ติดผล ถ้าพืชขาดธาตุแคลเซียม ตาดอกและกลีบดอกจะไม่พัฒนา ดอกและผลจะร่วง สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแคลเซียม ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป เมื่อให้ธาตุไนโตรเจนมาก เมื่อให้ธาตุโพแทสเซียมมาก เมื่อพืชแตกใบอ่อน แม้ว่าใบแก่จะมีธาตุแคลเซียม ทั้งนี้เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายในพืช เมื่อพืชแตกใบอ่อนต้องให้ธาตุแคลเซียมอยู่เสมอ ธาตุแคลเซียมจะมีความสมดุลกับธาตุโบรอนและธาตุแมกนีเซียมในพืช ถ้าไม่มีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 3 ชนิด พืชจะแสดงอาการผิดปกติ ธาตุแคลเซียมจะสูญเสียไปในดิน กลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งพืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้ ในดินที่เป็นกรด จะตรึงธาตุแคลเซียมไว้ ทำให้พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้