เตือนภัยฤดูฝน โรครากเน่า โคนเน่า ในทุเรียน

18318 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เตือนภัยฤดูฝน โรครากเน่า โคนเน่า ในทุเรียน

 โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน (Phytophthora root and foot rot) 

โรคพืช สาเหตุ เชื้อรา Phytophthora palmivora อาการ เริ่มจากเชื้อราเข้าทำลายระบบรากทำให้รากต้นทุเรียนเน่าเป็นสีน้ำตาล ต่อมาส่งผลให้ใบเหนือบริเวณที่รากเน่ามีอาการซีดเหลือง จากนั้นจะปรากฎอาการเน่า มีแผลฉ่ำน้ำ และมีน้ำไหลออกมาจากแผลที่โคนต้น เมื่อแผลเน่าลุกลามมากจะทำให้ใบร่วงหมด ต้นและยืนต้นตายในที่สุด

การแพร่ระบาด 

เชื้อแพร่กระจายโดยทางน้ำ ในสภาพดินที่มีน้ำชัง เชื้อราสร้างสปอร์ว่ายน้ำได้ จึงเข้าทำลายระบบรากสู่โคนต้น แต่ในฤดูฝนที่มีลมพายุและสภาพอากาศมีความชื้นสูง เชื้อจะแพร่ระบาดทางลม ฝน เข้าทำลายใบ กิ่ง และผลบนต้นได้



การจัดการโรค

-ทำทางระบายน้ำในสวนไมให้มีน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะบริเวณรอบโคนต้น

-ลดการใช้สารกำจัดวัชพืชใกล้บริเวณโคนต้น ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออกไปทำลายนอกแปลงปลูก

-ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา ( Trichoderma asperellum) หรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส (Bacillus subtilis)

-ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม (fosetyl aluminium) บอร์โดมิกซ์เจอร์ (bordeaux mixture) คอปเปอร์ออกชีคลอไรด์ (copper oxychloride) ไดเมโทมอร์ฟ (dimethomorph) ไพราโคลสโตรบิน (pyraclostrobin) ไมโคลบิวทานิล + ครีซอกชิม-เมทิล (myclobutanil + kresoximmethy) เป็นต้น

 

 ที่มา : บ้านและสวน

เมทาแลกซิล 25% สีชมพู 1กิโลกรัม 280จีเท็น ไมโครบิวทานิล ขนาด 500 ซีซี 440ยาเชื้อรา จีโมคาร์บ 500cc. 680บลูมิ้นท์ กรดฟอสโฟนิก 1000cc. 320ดูค่อน 1000cc. 550 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้