โรคที่ต้องรู้ในมะเขือเทศ EP.1

6177 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคที่ต้องรู้ในมะเขือเทศ EP.1

โรคใบไหม้  (Late blight)

อาการของโรคใบไหม้มะเขือเทศ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกระยะการเจริญเติบโตและทุกส่วนของพืชอาการเริ่มแรกมักเกิดขึ้นที่ใบก่อน โดยแผลจะมีลักษณะค่อนข้างกลม บนใบเกิดเป็นจุดช้ำฉ่ำน้ำสีเขียวเข้มเหมือนใบถูกน้ำร้อนลวกและทางด้านใต้ใบมักพบเส้นใยสีขาวหรือขาวอมเทาขึ้นอยู่ใต้ใบตรงบริเวณแผล แผลมักจะเริ่มเกิดขึ้นตรงปลายใบหรือขอบใบก่อน ขนาดก็จะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของโรค หากอาการรุนแรงใบจะแห้งดำทั้งใบ  เมื่อโรคพัฒนามากขึ้นใบที่ถูกเชื้อสาเหตุโรคใบไหม้ เข้าทำลายแห้งเป็นสีน้ำตาลติดอยู่ที่กิ่ง

นอกจากจะเข้าทำลายที่ใบแล้ว เชื้อสาเหตุยังเข้าทำลายที่ส่วนของกกิ่ง ลำต้นและที่ผล อาการที่กิ่งและลำต้นเป็นอาการช้ำน้ำเหมือนที่เกิดบนใบ หลังจากนั้นบริเวณแผลจะขยายใหญ่และเปลี่ยนเป็นสีดำ ถ้าเกิดแผลที่โคนกิ่ง จะทำให้ส่งน้ำและอาหารไม่ได้ ใบที่ยอดจะแสดงอาการเหี่ยวเฉา ทำให้กิ่งแห้งตายไป 

อาการบนผลเริ่มต้นด้วยการช้ำน้ำเหมือนถูกน้ำร้อนลวกบริเวณแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำาลเข้มหรือดำ เมื่อโรคระบาดมากขึ้น ผลที่เป็นโรคจะเน่าและร่วงหลุดไป ถ้าสภาพตวามชื้นสูงจะมองเห็นคล้ายละอองน้ำเกาะอยู่บริเวณแผลด้วย

โรคใบไหม้ มีสาเหตุจากเชื้อ Phytophtora infestans (Mont.) de Bary 

การแพร่ระบาด 

โรคลุกลามอย่างรวดเร็วจากใบหนึ่งไปยังอีกใบหนึ่ง จากต้นที่เป็นโรคไปยังต้นที่อยู่ ใกล้เคียง เกิดการระบาดได้รวดเร็วและรุนแรงในสภาพอากาศเย็นอุณหภูมิประมาณ 18 อาศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 90 % เชื้อราสามารถยังชีพอยู่ในเศษซากพืชที่ ตกค้างอยู่ในดินและยังสามารถอาศัย และขยายพันธุ์ได้ในดิน ตลอดจนสามารถแพร่ขยายได้โดยน้ำ แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วหลังฝนตก

โรคนี้มักพบการระบาดมากในทางภาคเหนือของไทย ในช่วงฤดูหนาวเพราะสภาพแวดล้อมเหมาะกับการเกิดโรค 

การจัดการ

1.ลดความชื้นในแปลงเพาะปลูก ยกค้าง และตัดแต่งใบล่างให้ทรงพุ่มโปร่ง 

2.พ้นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิิทธิภาพ เช่น สารในกลุ่มรหัส 4 กลุ่มรหัส 22  กลุ่มรหัส 43 กลุ่มรหัส 37 กลุ่มรหัส 27 

 

โรคใบจุดดวง (early blight)

การเกิดโรคสามารถเกิดได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ ต้นอ่อนที่งอกจากเมล็ด ที่มีเชื้อเกาะติดมาจะเกิดอาการคล้าย damping-off โดยเชื้อจะเข้าทำลายส่วนของลำต้นบริเวณโคน เกิดเป็นแผลยาวสีดำจมยุบตัวลงไปจากผิวปกติเล็กน้อย โดยแผลเหล่านี้อาจเกิดเพียง 1 หรือ 2 แผล ขึ้นอยู่กับปริมาณและความรุนแรงของเชื้อ ทำให้ต้นกล้าหักล้มแห้งตายหรือไม่ก็ชะงักการเจริญเติบโต

อาการมักเกิดที่ใบก่อน โดยเริ่มเป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาล แผลค่อนข้างกลมแล้วขยายใหญ่ออก ถ้ามีจุดหลายจุดเกิดใกล้ๆกัน เมื่อแผลขยายออก ทำให้มองเห็นลักษณะใบไหม้เป็นสีน้ำตาล การขยายตัวของจุดจะปรากฏรอยการเจริญของแผลเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำซ้อนๆกันออกไป  

ในสภาพที่ความชื้นและอุณหภูมิสูง โรคระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้ใบเหลืองและแห้งในที่สุด เชื้อสาเหตุโรคใบจุดสามารถเข้าทำลายกิ่งหรือส่วนอื่นของมะเขือเทศได้ด้วย หากเกิดบนกิ่งและลำต้น จะเห็นเป็นแผลสีน้ำตาลปนดำเป็นวงซ้อนๆกัน เหมือนบนใบแต่รูปร่างของแผลรียาวไปตามลำต้น เมื่อแผลขยายขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้กิ่งหัก ถ้าเกิดที่โคนต้นจะทำให้ต้นแห้งตายได้ 

ผลแก่ที่เป็นโรคมักจะแสดงอาการที่บริเวณขั้วผลเป็นแผลสีน้ำตาล ดำ และแสดงอาการวงแหวนเหมือนที่เกิดบนใบด้วย แผลที่ดำและแห้งไปนี้อาจจะลามลึกเข้าไปในเนื้อมะเขือเทศ ผลมะเขือเทศที่เป็นโรคมักจะร่วงหลุดไป หรือทำให้คุณภาพผลมะเขือเทศเสียไป ส่งตลาดไม่ได้ 

โรคใบจุดดวง มีสาเหตุจากเชื้อรา Alternaraia Solain (Ell.Mart.) L.R.&Grout

การแพร่ระบาด

เชื้อสาเหตุโรคสามารถมีชีวิตได้บนเศษซากพืชที่ปล่อยทิ้งไว้ตามดินแปลงปลูก เมื่อถึง ฤดูปลูกใหม่ก็จะกลับมาก่อให้เกิดโรคได้อีก นอกจากนั้นการระบาดข้ามฤดูปลูกได้โดยติดปะปนอยู่กับเมล็ดพันธุ์ ส่วนการระบาดระหว่างต้นในช่วงการปลูก ส่วนใหญ่เกิดจากสปอร์หรือโคนีเดียจำนวนมาก บนแผลที่ต้น กิ่ง ใบ หลุดออกจากก้านชูสปอร์ปลิวไปตามลม น้ำ แมลง มนุษย์ สัตว์ และสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ทุกชนิด ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เมื่อตกลงบนพืชสิ่งแวดล้อมเหมาะสมก็จะงอกเส้นใยเจริญเติบโตเข้าไปภายในพืชโดยผ่านทางช่องเปิดธรรมชาติ การเข้าทำลายจะเป็นไปอย่างช้าๆ หากพืชแข็งแรงเจริญเติบโตเป็นปกติโดยจะใช้เวลาประมาณ 8-10 วัน แต่ถ้าพืชอ่อนแอ หรือมีแผลเกิดขึ้นเวลาอาจจะสั้นลงเหลือเพียง 4-5 วัน และระบาดได้รุนแรงในสภาพที่ความชื้นและอุณหภูมิสูง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะต่อการระบาดของโรคมาก ๆ จะทำให้อาการจุดวงขยายตัว อย่างรวดเร็ว

การจัดการ

1.คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่สามารถกำจัดเชื้อราสาเหตุที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ เช่น แมนโคแซบ ไอโซไดโอนโอน เป็นต้น

2.ถ้าระบาดในแปลงปลูก พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ เช่น สารในกลุ่มรหัส 2 กลุ่มรหัส 3

กลุ่มรหัส 7 (เฉพาะฟลูโอไพแรม) กลุ่มรหัส 11 หรือสารผสมของกลุ่มรหัสเหล่านี้


 
นาแลกซิล 1 kg 270-280จีแอลสโตรบิ้น 250 cc   220-250  แมนโคเซบ 80% 1 kg. 170-172เฮกซะโคนาโซน 1 L  280-350

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้