19965 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคใบจุดแบคทีเรีย (Bacterial leaf spot)
ด้านหน้าใบและหลังใบเกิดจุดฉ่ำเล็กๆมีลักษณะกลม ลักษณะจุดฉ่ำน้ำจะสังเกตเห็นได้ที่ด้านหลังใบมากกว่าด้านหน้าใบ เมื่อโรคพัฒนามากขึ้นแผลขยายขนาดออกไป มีลักษณะไม่แน่นอน เนื้อใบตรงกลางแผลเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน
บรพริกบางสายพันธุ์ แผลที่เกิดขึ้นมีรูปร่างไม่แน่นอน แต่เนื้อใบรอบแผลเป็นสีเหลือง เมื่อโรครุนแรงมากขึ้นใบจะเป็นสีเหลือง และร่วงไปในที่สุด
โรคนี้มักเกิดที่ใบ ส่วนกลางๆต้น โดยมี เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas vesicatoria (ex Doidge) Vauterin et al. เป็นเชื้อสาเหตุ
โรคใบจุดจากเชื้อแบคทีเรียนี้จะระบาดมากเมื่ออกาศร้อนชื้น โดยเฉพาะในฤดูฝน หรือในแหล่งที่อากาศร้อนและให้น้ำแบบพ่นฝอย
แนวทางการป้องกันกำจัดโรค
1.การเตรียมแปลงด้วยการไถดินตากแดดแรงๆ ประมาณ 3-5 วัน
2.ในแปลงที่พบการระบาดควรอบดินฆ่าเชื้อด้วย ยูเรีย อัตรา 80 กิโลกรัม และปูนขาว อัตรา 800 กิโลกรัม ต่อ พื้นที่ 1 ไร่ โดยอบทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์ก่อนปลูกพืช
3.การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น ที่อุณหภูมิ 52-55 องศาเซลเชียส นาน 30 นาทีจะช่วยลดปริมาณแบคทีเรียที่ติดมากับเมล็ดลงได้
การจัดการ
1.เมื่อหมดฤดู กำจัดเศษซากพืชที่เป็นโรคออกจากแปลงให้หมด
2.เมื่อเริ่มพบการระบาดหยุดการให้น้ำแบบพ่นฝอย
3.พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชในกลุ่มทองแดง
โรคใบหงิก ใบเหลือง (Pepper Yellow leaf Curl Virus,PYLCV,Tomato Yellow Leaf Curl Virus,TYLCV)
ถ้าเชื้อเข้าทำลายระยะต้นเล็กต้นพืชแคระแกร็น ใบพริกด่างเหลือง เนื้อใบส่วนมากเป็นสีเหลืองและมีจุดเขียวประปราย ผลมีรูปร่างผิดปกติบิดเบี้ยว
มีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะโรคนี้ไม่สามารถถ่ายทอดได้าทางเมล็ด
การจัดการ
1.คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยสารกำจัดแมลงปากดูด เช่น สารคาร์โบซัลแฟน หรือ อิมิดาคลอพริด
2.หมั่นตรวจแปลง ถอนต้นที่แสดงอาการโรคออกเผาทำลาย
3.พ่นด้วยสารกำจัดแมลงปากดูด ที่มีประสิทธิภาพ ต่อแมลงหวี่ขาว เช่น อิมิดาคลอพริด ฟิโปรนิล เฟนโพรพาทริน คาร์โบซัลแฟน ไซเปอร์เมทริน/โฟซาโลน หรือไบเฟนทริน เป็นต้น